วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท  มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือ  กระทำ  ปฏิบัติ  แก้ปัญหา  หรือ  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ   ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง    และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้  ตลอดจนเน้นกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม
บทบาทในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ครูมีบทบาทที่สำคัญมีดังนี้
1.  การเตรียมการสอน ครูควรเตรียมการสอนดังนี้
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ความสามารถ และเพื่อกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้  ตลอดจนวัตถุประสงค์สำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้  เตรียมห้องเรียน
1.4 วางแผนการสอน ควรเขียนให้ครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
           (1)  กำหนดเรื่อง
           (2)  กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
           (3)  กำหนดเนื้อหา ครูควรมีรายละเอียดพอที่จะเติมเต็มผู้เรียนได้  ตลอดจนมีความรู้ในเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ
            (4)  กำหนดกิจกรรม  เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  นำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของตนเอง  ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจมีความหลากหลายตามความสามารถ ถึงแม้จะเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
             (5)  กำหนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
             (6)  กำหนดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือประเมิน
2.  การสอน ครูควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
2.1  สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2.2  กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม
2.3  จัดกิจกรรมหรือดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผน และต้องคอยสังเกต บันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสม
2.4  ให้การเสริมแรง หรือให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ข้อสังเกต
2.5  การประเมินผลการเรียน  เป็นการเก็บรวบรวมผลงานและประเมินผลงานของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
สรุป คนจะเกิดปัญญาเกิดจากการฝึกกำลังใจให้แน่วแน่ มีสมาธิ  ผลผลิต คือ ผู้เรียน ความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้

วิธีจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
1. แรมจากศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าเขากำหนดว่าอย่างไร  ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรแล้วนำความรู้นั้นมาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอน
2.  วิเคราะห์ตัวผู้เรียนว่ามีลักษณะอย่างไร  เราต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร มีทักษะพัฒนาด้านใดบ้าง  โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  3. ในการจัดกิจกรรมเราจะนำเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน  ใช้สื่อในการเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรม
  4. โดยการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
  5. นำผลประเมินการจัดกิจกรรมมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา  นำส่วนที่ควรปรับปรุงไปแก้ไขในบทเรียนหน้า  ส่วนที่ดีก็ดำแนนตามปกติ
                 6. การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไปใช้ในอนาคต

ตัวอย่างการแผนการเรียนการสอน
แผนการเรียนการสอน

วิชา  วิวัฒนาการการปกครองของไทยก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี                      1  ชั่วโมง
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย                                                                                                2  สัปดาห์

1.สาระการเรียนรู้
                การปกครองของไทยในสมัยโบราณได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์  ฮินดูและพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดลักษณะและบทบาทของการผู้ปกครองหรือกษัตริย์
                การปกครองสมัยโบราณของไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี  เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  มีจตุสดมภ์เป็นหลักในการบริหารราชการส่วนกลาง  ส่วนการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็นเมืองลูกหลวง  หัวเมืองชั้นใน  หัวเมืองชั้นนอก  และเมืองประเทศราช
                การศึกษาวิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย  สามารถแบ่งเป็นยุค  ได้แก่  ยุคก่อนสมัยสุโขทัย  สมัยสุโขทัย  สมัยอยุธยา  สมัยธนบุรี  สมัยรัตน์โกสินทร์ตอนต้น  (รัชกาลที่  ๑-๔)  สมัยรัชกาลที่  ๕-ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ.๒๔๗๕  และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ.๒๔๗๕  ถึงปัจจุบัน  แต่จะกล่าวถึงวิวัฒนาการการปกครองของไทยตั้งแต่ยุคก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี

2.จุดประสงค์รายวิชา

2.1  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี
2.2  เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงวิวัฒนาการการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี  อย่างเป็นลำดับ
2.3  เพื่อให้นักเรียนเกิดความตราหนักถึงความเป็นไปของประเทศจนได้กลายเป็นเอกราชจนถึงปัจจุบัน


3.แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ที่   /ชั่วโมง
สาระการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
การวัดผล
1
1  ชั่วโมง
1.การเมืองการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย
2.การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
   - การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น
   - การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย

บรรยาย  อธิบาย  อภิปรายกลุ่ม/การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ/ฝึกปฏิบัติทบทวนสรุปองค์ความรู้
ทดสอบความเข้าใจ/
ตรวจผลงาน/
การสังเกตพฤติกรรม/ความรู้สึกด้วยตนเอง
2
1  ชั่วโมง
1.การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
   - พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
   - การจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยา
2.การเมืองการปกครองสมัยธนบุรี
   - การปกครองส่วนกลาง
   - การปกครองส่วนภูมิภาค
   - กฎหมายและคดีสำคัญสมัยกรุงธนบุรี

ศึกษาเอกสาร/วิเคราะห์/อภิปรายกลุ่ม/กิจกรรมตามใบงาน/สรุปองค์ความรู้
ทดสอบ/ตรวจผลงาน/สังเกตพฤติกรรม/การสะท้อนผลการเรียนรู้


4.แผนการวัดผลและประเมินผลการเรียน
4.1  การวัดผลการเรียนรู้

งาน/กิจกรรมที่ใช้ในการประเมิน
สัปดาห์ที่
สัดส่วนของคะแนน
1.พฤติกรรมการเรียนรู้/เวลาเรียน
ตลอดภาคการเรียนรู้
20
2.การปฏิบัติงานเดี่ยว
   2.1 สรุปองค์ความรู้
   2.2 แบบฝึกหัด
   2.3 รายงาน

ตลอดภาคการเรียนรู้
2
1,2
20
3.การปฏิบัติงานกลุ่ม
   3.1 รายงาน

1,2
20
4.การทดสอบปลายภาค
16
40

                4.2  การประเมินผล

                                เกรด     A       ได้คะแนนร้อยละ     80-100
                                เกรด     B+     ได้คะแนนร้อยละ     75-79
                                เกรด     B       ได้คะแนนร้อยละ     70-74
                                เกรด     C+     ได้คะแนนร้อยละ     65-69
                                เกรด     C       ได้คะแนนร้อยละ     60-64
                                เกรด     D+    ได้คะแนนร้อยละ     55-59
                                เกรด     D      ได้คะแนนร้อยละ     51-54
                                เกรด     E      ได้คะแนนร้อยละ     50

5.สื่อการเรียนรู้

                5.1  เอกสารประกอบการสอนและตำรา
                5.2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                5.3  Power  point
                5.4  ใบงาน  ใบกิจกรรม

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำแผ่นพับเกี่ยวกับการเมืองการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.ปัญหาอุปสรรค
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                                       
                                                                                       ลงชื่อ ............................................................
                                                                                                                   ผู้สอน                        
    

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
       1)   กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีกท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 9

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
              จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
            หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตราฐานของหลักสูตรและสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
             คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย

ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร
                วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
แนวความคิด เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ
      วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก วัฒนธรรมในหน่วยงาน ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และ การลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมี ระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
      การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ
3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ
4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด
5. วางแผนปฏิบัติการ
6. ลงมือปฏิบัติการ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
          เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้องค์การต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการซึ่งมักจะถูกนำไปเกี่ยวโยงกับการสร้างวัฒนธรรมองค์การเพื่อสนับสนุนความสำเร็จให้เกิดขึ้นตามที่องค์การพึงประสงค์ การให้ความสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์การในทิศทางของนวัตกรรม(Innovation) กล่าวคือส่งเสริมให้พนักงานกล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจมากขึ้นเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภายใต้สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจยุคกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของคนในองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้          วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา