วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

            การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการในชั้นเรียนมีปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียนไม่ได้ แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางนี้ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน ซึ่งมีความสำคัญดังนี้

               - การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน 
               - นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
                ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้ 
          1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน  และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย 
          2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคน
          3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
          4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับนักเรียน

การนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน  หากว่าทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามและมีความเป็นกันเองกับนักเรียนรวมถึงให้ความมีอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆและการสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนเพื่อไม่ให้นักเรียนตึงเครียด ซึ่งก็จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี สิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นแนวทางอย่างหนึ่งที่เราสามารถนำไปใช้การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปและใช้สอนกับนักเรียนรวมไปถึงการใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
สรุปบทความมาตรฐานวิชาชีพ
จาการศึกษาบทความของรองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา  จะเห็นว่าทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ โดยอาชีพด้านการศึกษาก็มีคุรุสภา
          สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด           
          สำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูง แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนด เกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม ในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการ ศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู  ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะ
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภา
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบ และวิธีการที่ต่างๆ กัน จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถาน ศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผ็ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
ดังนั้นสิ่งที่ศึกษาสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพครูได้  คือ  เมื่อรู้ว่าวิชาชีพต่างๆ  มีมาตรฐานกันทั้งนั้น  ยิ่งวิชาชีพครูก็สามารถรู้ว่ามาตรฐานวิชาชีพครูเป็นอย่างไร  ใครเป็นผู้กำหนด  มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างและแต่ละระดับมีมาตรฐานแตกต่างกัน  และการประกอบวิชาชีพครูที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา  ทำให้รู้ว่าการเป็นวิชาชีพที่ถูกต้องและสามารถเป็นโดยไม่ผิดกฎหมายตามเงื่อนไขของคุรุสภานั้นมีเงื่อนไขอย่างไร


กิจกรรมที่ 5

      ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
      จากสิ่งที่ได้คือการป็นต้นแบบขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคล  ซึ่งบุคคลที่จะเป็นต้นแบบนั้นไม่จำเป็นว่าจะได้รับรางวัลต้นแบบ  ต้องสามารถเป็นต้นแบบของบุคคลอื่นได้แค่ต้นแบบจะต้องเป็นแม่แบบ  ในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใผ่รู้ใผ่เรียน  กระตุ้นให้เกิดความสร้างสรรสิ่งดีงาม  จากการถ่ายทอดต้นแบบสู่ผู้ดูแบบไม่จำเป็นต้องสอนกันตรงๆเพียงแค่ผู้ดูแบบ...ได้เห็น...ได้รับฟ้งต่อๆกับมาได้รับรู้ก็เกิดความศรัทธาเชื่อมั่น  เป็นขวัดกำลังใจ
         การนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง  สำหรับด้านการศึกษาจำเป็นจะต้องมีต้นแบบอย่างที่ดี  การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ  ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิลย์  ต้นแบบแห่งการเรียนรู้คือต้นแบบสอนให้รู้  ต้นแบบทำให้ดูและต้นแบบอยู่ให้เห็น
         จาการที่ขงจื้อ  กล่าวไว้"คนดี  คนเลว  เป็นครูได้ทั้งหมด  เพราะเมือเห็นคนดี  ก็เลียนแบบ  เห็นคนเลวก็เลียนแบบ"แต่การที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีได้นั้น  ต้องมีจิตวิญญาของการเป็นต้นแบบ  ต้องอาศัยวุฒิภาวะโดยเห็นต้นแบบเป็น  เป็นพ่อ-แม่  ที่เป็นเหมาะกระจกให้เห็นตนเองและคอยสังสอนให้เดินเส้นทางที่ถูกต้อง  การมีต้นแบบที่ดีก็เช่ากัน
         การเป็นแบบทั้งต้นและวิญญาน  การพัมนาตนเองได้เป็นแบบอย่างที่ดี  โดยการดูต้นแบบที่เราประทับใจแล้วพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพทั้งกิรกยามารยาท  ด้านความคิด  พฤติกรรมและการเป็นครูในอนาคดเราต้องพึ่งฝนตนเอง  ให้เป็นคนดีเพื่อให้ศิษย์นำเราเป็นต้นแบบที่ดี  คือสอนให้รู้ว่าอะไรสมควรทำหรือไม่สมควร

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด        ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้   การเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน  ได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งในอดีตและปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆขึ้นมา ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ คือการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ  เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
     หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ จะผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ  ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ จะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก การสร้างศรัทธา  เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ  แม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดแต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว  "ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน ศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอ  บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่เหนือ หรือโดดเด่นอยู่บ้าง เช่น คุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ หรือความรู้ความสามารถ
บางคนสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" ผู้นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ  แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน   ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ  จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice)  ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ








วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 

ประวัติ
ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2477
จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ ปริญญาเอก พฤกษศาสตร์ สาขา เซลล์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์

 ประวัติการศึกษา
2493–2494         เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2495–2498         B.S. (ไม้ดอกและไม้ประดับ) มหาวิทยาลัยคอ ร์เนลล์
2489–2503         Ph.D. (เซลล์พันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ประวัติการทำงาน
2506–2509         ดำรงตำแหน่งอาจารย์เอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์                มหาวิทยาลัย
2509–2514         ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2514–2517         ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2517                    ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2525                    ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2521–2528         ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2529–2537         ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
ถาวร วัชราภัย (2 เมษายน พ.ศ. 2477 - ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2532 ในสาขาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้พบว่าการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศด้วยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยเป็นคนแรกที่รายงานปรากฏการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัย เมื่อ พ.ศ. 2515
ถาวรจบการศึกษาปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ และปริญญาเอกพฤกษศาสตร์ สาขาเซลล์พันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์



กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน ตามที่ครุสภากำหนด ต้องมีทั้งสาระความรู้ และ สมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้
สาระความรู้ตามมาตรฐาน   มี 14 หัวข้อได้แก่                                                                    
1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ       8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา                       9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ                         10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร             11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร                      12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา 
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร                 13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน                   14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

สมรรถนะตามมาตรฐาน มี 5 หัวข้อคือ
1. มีภาวะผู้นำ                                    
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน     
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์ 
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ

สุนีย์  เหมะประสิทธิ์  (2533:18-19)ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้  ที่เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น  3  กลุ่มคือ

(1)กลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism)
       เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
 (2)กลุ่มเกสตัสท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม  (Gestelt,Field  or  Cognitive  theories)
       เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3)กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม  (Social  psychology  or  social  learning  theory)
       เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม



วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่  1       
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดเรียนบรรยากาศหรือการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และวิธีการสอนเพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน  
       นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน  ในการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอนต้องปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น  และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  และบรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการสอนที่มีคุณภาพ 


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวอาซูรา  ดือเระ
วัน/เดือน/ปีเกิด  18  มกราคม  2533  อายุ  20  ปี 
บ้านเลขที่  8/2  หมู่  5  บ้านไอจือเราะ  ต.มาโมง 
อ.สุคิริน  จ.นราธิวาส

ประวัติการศึษา

อนุบาล  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนนิคมพัฒนา  10
มัธยมตอนปลายจาก  โรงเรียนรอมาเนีย
ปัจจุบันศึกษา  ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ปรัชญา

จงทำตัวเช่นผืนทราย  ที่ไม่ว่าจะเจอเรื่องร้ายเช่นไร  มันก็จะเลือนหายไปเสมอ

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความจากใจ

ชีวิตในบางครั้ง
ความอยุติธรรมก็คล้ายเป็นเรื่องถูกต้อง
ความเจ็บปวดก็คล้ายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ความเสียเปรียบก็อาจถูกยัดเยียดให้
ความพ่ายแพ้ก็อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน
คนที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถทนรับเอาไว้ได้
เพื่อที่จะกอบกำทุกอย่างกลับคืนมา