วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
จากการได้เรียนและได้ลงมือทำกิจกรรมแต่ละครั้งทำไห้  ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องการจัดการในชั้นเรียนได้ดี  เพราะวิชานี้สอนให้นักศึกษารู้จัดศึกษาด้วยตัวเอง  โดยการคิด  วิเคราะห์  และสงคราะห์ออกมาเป็นความคิดของเราเอง  ทำให้รู้จัดคิดและการใช้เทคโนโลยี
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ก่อนเรียนวิชานี้ก็เป็นคนที่ไม่เก่งในด้านเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์เท่าไร  คือรู้แค่พื้นฐานเท่านั้น  เมื่อได้เรียนก็ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น  เช่น  เครื่องมือการนำเสดงโดยความรู้นี้ผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก  และข้อความ ภาพ ลิงค์ และสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ  ก็มีความสำคัญ
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก  เพราะสามารถค้นหาความรู้จากที่อื่นได้ และเป็นสื่อที่ทันสมัย มีความรวดเร็ว ต่อการเรียนการสอนมาก สมารถแลกเปลี่ยนความรู้จากเพื่อนได้หลายมุมมอง สมารถทำงานส่งอาจารย์แทนกระดาษได้ทำให้ประหยัดและทำให้รวดเร็ว
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
  มีความพึงพอใจ  มากที่สุด  เพราะเป็นการศึกษาที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเรื่องการจัดการในชั้นเรียนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต  เมื่อข้าพเจ้าศึกษาจบ  และสามารถนำความรู้เพิ่มเติมมาใส่ได้กี่

การสอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.Classroom Management
การจัดการชั้นเรียน   หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน  และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ 
2. Happiness Classroom
หมายถึง    Happiness เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Life-long Education
การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4. formal Education
การศึกษาในระบบ คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
 การศึกษานอกระบบ  หมายถึง การ จัดการกิจกรรม การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ
6. E-learning
e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง    การ เรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
หมายถึง     เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความ เข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มี บทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9. Vision
วิสัย ทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์ จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญา และมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริง
10. Mission
พันธกิจ  หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้าหมาย  คือ สิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง หลายองค์กรมีเป้าหมาย แม้กระทั่งแผนดำเนินงานมากมายแต่ไม่ค่อยบรรลุเมื่อลงมือทำการ(Implement) เหตุ เพราะว่าขาดการติดตามงาน ไปให้ความสำคัญของเป้าหมายมากกว่าการกระทำ เมื่อถึงปลายปีที่ต้องมาทบทวนเป้าหมาย จึงมักพบว่าไปได้ไม่ถึงไหน เป็นได้แค่เป้าที่สวยหรู
12. Objective
วัตถุ ประสงค์ คือจุดมุ่งหมายปลายทางของการดำเนินงาน หรืออาจว่าเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการเห็นก็ได้ ในการทำกิจกรรมใดๆก็ตามจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเห็นจุดหมายในอนาคตของ การทำกิจกรรมนั้นๆเพื่อกำหนดแนวทางในการไปสู่จุดหมายปลายทางได้ชัดเจน
13. backward design
Backward Design หมายถึง  กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดกระบวนทัศน์ที่มุ่งไปสู่ผลผลิตตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้
14. Effectiveness
Effectiveness  คือ ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย
15. Efficiency
Efficiency คือความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งึ้น อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้
16. Economy
ระบบ เศรษฐกิจ หมาย ถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
17. Equity
Equity  คือ  ผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ
18. Empowerment
Empowerment  หมายถึง การทำให้บุคคลที่ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) รวมทั้ง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีความสามารถเพียงพอ (Self-efficacy) ที่จะทำงานนั้นสำเร็จ  ให้เกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติงาน
19. Engagement
Engagement คือ  การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับ องค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้าง ผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง กระบวนงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆ กิจกรรม ซึ่งมีลำดับก่อนหลังอย่างชัดเจน เป็นกระบวนการที่สร้างความเปลี่ยนแปลง กระทำเพื่อสนองหรือสนับสนุนต่อวัตถุประสงค์โดยตรง กระบวนการนั้นๆ ทำเป็นการเฉพาะกิจ หรือกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นและจุดจบของกระบวนการ และการดำเนินการต่างๆ จะถูกจำกัดด้วยเวลาและค่าใช้จ่าย
21. Activies
หมายถึง  ความอดทนคือ การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึง ปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไปของเสียของหอมของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
22. Leadership
ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) ว่า หมายถึงกระบวนการชี้นำและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้า หมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ และเป็นกระบวนการต่างๆ ที่ผู้บริหารสามารถกระตุ้นให้เกิดสัมฤทธิ์ของงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผ่านกระบวน การโน้มน้าว จูงใจให้สมาชิกในองค์การมีความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการ ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ
23. Leaders
หมายถึง  ผู้นำบุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น
24. Follows
หมายถึง  คือเวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของ ไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของ อิมมานูเอล คานต์  และ กอตฟรีด ไลบ์นิซ
25. Situations
หมายถึง  สถานการณ์ (Situation) สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
26. Self awareness
การรู้จักตน (Self awareness) คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร (Communication) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
28. Assertiveness
Assertiveness  คือ การแสดงออกอย่างเหมาะสมคือพฤติกรรมหรือการแสดงออกด้วยคำพูด หรือกิริยาอาการว่าเรามีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ปิดบังหรือ อ้อมค้อม ด้วยความสุภาพตรงไปตรงมาในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ก้าวร้าว การแสดงออกอย่างเหมาะสมเป็นการรักษาสิทธิ์หรือเป็นการแสดงสิทธิ์ของมืออาชีพ ที่พึงกระทำในโลกของการจัดการสมัยใหม่
29. Time management
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด
30. POSDCoRB
POSDCORB คือ การแบ่งงานตามความถนัดและความเหมาะสมความซึ่งประกอบด้วย   P=PLANING การวางแผน   o = organizing การจัดองค์การ  s = staffing การสรรหาคนเข้าทำงาน  d = directing การอำนวยการ  co = coordinating การประสานงาน  r = reporting การรายงาน  b = budgeting การงบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน  เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือ ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มี ตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยงานให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
หมายถึง   สิ่ง แวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
34. Globalization
Globalization คือ โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้นคือสภาวะโลกไร้ พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันจนเกิดแบบแผนและพัฒนาไปสู่การมี วัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
Competency หรือ เรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมาย ถึง แบบแผนความคิด ความรู้สึก ที่สมาชิกได้รับการกำหนดร่วมกันภายในองค์การ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้สมาชิกประพฤติและมีการสืบทอดไปสู่สมาชิกใหม่ของ องค์การ
35. Individual Behavior
พฤติพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล
ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือ  การรับรู้ (Perception)  ทัศนคติ (Attitudes)  ค่านิยม (Values)          การจูงใจ (Motivtion)  องค์ประกอบเหล่านี้ นอกจากจะมีอิทธิพลทำให้แต่ละบุคคลมีลักษณะและพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งยัง มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของบุคคลในการปฎิบัติงานอีกด้วย

36. Group Behavior
คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กรด้วย
37. Organization Behavior
รูป แบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับ สาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working
การทำงานเป็นทีม (team work) คือกลุ่มบุคคลที่ทำงานมีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats)  เป็น การรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ
40. Classroom Action Research
การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom  Action  Research)คือ  กระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน  เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบครั้งที่ 1


คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.  Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร

ตอบ  การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรีนย
 

2.  ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ  มาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
                                1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
                                2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามลำดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือ การกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
                                3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) ยกข้อกล่าวหา 2) ตักเตือน 3) ภาคทัณฑ์ 4) พักใช้ใบอนุญาตที่กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี และ 5) เพิกถอนใบอนุญาต
 

3.  ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

ตอบ  แนวคิดหรือหลักการจัดการเรียนในโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง 
กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1.  บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)   เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2.  บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3.  บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4.  บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   
5.  บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6.  บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว  เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
               บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

4.  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ  จากปัจจัยในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน  หากจะต้องมีการพัฒนาในด้านของการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนดิฉันคิดว่า    การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีบรรยากาศที่ดีนั้นนอกจากจะให้คำนึงการให้ความร่มรื่นและความสวยงามบริเวณโรงเรียนแล้ว  ควรจะเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ โดยการจัดการเรียนทางด้านการเกษตรเพื่อเป็นการปลูกฝังในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปอีกทางหนึ่ง  นอกจากนี้ยังได้ในด้านการรักษาภูมิทัศน์ในโรงเรียนแล้ว  อย่างได้แหล่งเรียนรู้อีกด้วย และยังได้การอนุรักษ์พลังงาน โดยมุ่งหวังให้นักเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น  การปลูกต้นไม้  การเก็บขยะ  และการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น
ส่วนสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัยนั้น  ก็ควรที่จะวางแผนในการที่จะสร้างเสียก่อน  โดยการวางแผนการสร้างอาคารให้ดี  เช่น  การวางตำแหน่งอาคารไม่ให้ใก้ลจนเกินไป  เพื่อที่ไม่ให้ดูแออัด  เป็นต้น  นอกจากนี้อาคารเรียนต้องมีการสร้างให้มีมาตรฐาน  และมีความปลอดภัย  ควรบำรุงรักษาหรือปรับปรุงอาคารเรียนที่เก่าให้ดี  เพื่อความปลอดภัยต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
ถ้าโรงเรียนแต่ละแห่งทำได้ทั้งทางด้านวิชาการ  สุขภาพร่างกาย  สภาพภูมิทัศน์  สิ่งแวดล้อม  อาคารเรียนที่มีประสิทธิภาพ  ก็จะเป็นโรงเรียนที่มีมาตราฐานอย่างแท้จริง

5.  ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ  มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
1   ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่างคือ  1.  มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
                 2.  มีความซื่อสัตย์สุจริต   3.   มีความกตัญญูกตเวที
     4.  มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
                   5.  ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
    6.  ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
2.  ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างคือ  1.  รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่ง แวดล้อม
                 2.  เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3.  ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่างคือ  1.  มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
      2.  เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
      3.  ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
      4.  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
      5.  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
4.  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่างคือ  1.   สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมี การคิดแบบองค์รวม
                      2.  สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
      3.  ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
      4.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
5.  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่างคือ  1.  มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
      2.  มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
     3.  สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
     4.  สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
     5.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
6.  ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างคือ  1.  มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
     2.  สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
    3.  มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมา โรงเรียน
7.  ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่างคือ  1.  มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
     2.  มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
     3.  ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
    4.  มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
    5.  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
8.  ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่างคือ  1.  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
                      2.  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
      3.  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ

6.  ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  วิธีการสอนคุณธรรมและจริยธรรมในรายวิชาที่สอน
                การสอนคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักศึกษานั้นสามารถทำได้ในทุกรายวิชา ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะใช้วิธีการใดในการสอน ซึ่งขอยกตัวอย่างการสอน ดังต่อไปนี้
                1. การให้นักศึกษาได้ค้นพบคุณธรรม จริยธรรมจากประสบการณ์ตรงจากเนื้อหาของกิจกรรมหรือตัวบุคคลต้นแบบ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1.1 การนำนักศึกษาไปศึกษาและปฏิบัตินอกสถานที่ ซึ่งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับรายวิชา และตั้งจุดมุ่งหมายของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
                                1.1.1 การปฏิบัติธรรม เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกสมาธิ และสาระที่จะได้จากการฟังธรรม สนทนาธรรมกับพระวิปัสสนาจารย์ นอกจากนี้ ยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด เช่น การทำความสะอาด การบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เป็นต้น
                                1.1.2 การปลูกป่า ซึ่งทำทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือ เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อวัฏจักรของชีวิตอันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษารักและหวงแหนธรรมชาติต่อไป
                                1.1.3 การชื่นชมสุนทรียะจากงานศิลป์ ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ เพื่อปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในมรดกของชาติที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
                1.2 การเชิญบุคคลต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรมมาให้ข้อคิดกับ     นักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนได้กำหนดถึงความเหมาะสมของบุคคลต้นแบบ โดยไม่ได้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นคน  ที่มีชื่อเสียง โด่งดังระดับชาติ แต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักการที่ว่า แบบที่ดี เป็นสื่อการสอนที่วิเศษสุด
                1.3 การศึกษาจากบุคคลตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้หลากหลายอาชีพ เช่น แม่ค้าขายไข่ปิ้ง คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ไปพูดคุยกับคนเหล่านั้น พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและข้อมูลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและส่งผู้สอนเพื่อประเมินผล กิจกรรมนี้ เน้นให้นักศึกษาค้นพบคุณธรรม จริยธรรมและวิสัยทัศน์ที่เป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ความสุขตามจากบุคคลตัวอย่างที่ไปศึกษา
                2. การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งทางกลุ่มผู้สอนได้ร่วมกันคัดเลือกสื่อการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่สื่อของรายการคนค้นคนของบริษัททีวีบูรพา ดังรายละเอียดโดยสังเขปในหัวข้อต่อไป
                นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่สอนคุณธรรม จริยธรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยกิจกรรมที่จัดขึ้น ส่วนใหญ่ ผู้สอนจะทำการประเมินเพื่อวัดความพึงพอใจในกิจกรรมและเพื่อทราบข้อบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขเพื่อให้กิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบรรลุจุดมุ่งหมายมากขึ้น ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและแสดงความคิดเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับมากและมากที่สุด
สรุป
                การสอนคุณธรรม จริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะมีประสิทธิภาพได้ก็ขึ้นอยู่กับ  ตั้งความรัก ความปรารถนาดีต่อศิษย์  มุ่งให้เข้าได้รับประโยชน์ที่เกิดจากภูมิธรรม เครื่องนำชีวิตสู่ความสำเร็จ และได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมให้มากที่สุด  ต้องเสียสละและใช้ความอดทนสูง  ในการรับภาระอันหนักหน่วง โดยเฉพาะเรื่องการตรวจแบบกิจกรรมรายบุคคล โดยขอให้ยึดหลักปรัชญา 2 ประเด็น คือ  เอาผู้เรียนเป็นครูและการได้ทำหน้าที่ของครู การจัดกิจกรรมและการตรวจงานของนักศึกษายังทำให้เราได้ทำหน้าที่ของครูอีกหลายประการ  ใช้หลักอุเบกขา คือความเป็นกลาง ความยุติธรรมที่ต้องมีให้แก่ศิษย์ทุกคน โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง โดยยึดเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน และธรรมคือความถูกต้องเป็นแบบในการปฏิบัติ