วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 

ประวัติ
ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2477
จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ ปริญญาเอก พฤกษศาสตร์ สาขา เซลล์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์

 ประวัติการศึกษา
2493–2494         เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2495–2498         B.S. (ไม้ดอกและไม้ประดับ) มหาวิทยาลัยคอ ร์เนลล์
2489–2503         Ph.D. (เซลล์พันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ประวัติการทำงาน
2506–2509         ดำรงตำแหน่งอาจารย์เอก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์                มหาวิทยาลัย
2509–2514         ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2514–2517         ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2517                    ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2525                    ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2521–2528         ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2529–2537         ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
ถาวร วัชราภัย (2 เมษายน พ.ศ. 2477 - ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2532 ในสาขาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้พบว่าการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศด้วยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยเป็นคนแรกที่รายงานปรากฏการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัย เมื่อ พ.ศ. 2515
ถาวรจบการศึกษาปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ และปริญญาเอกพฤกษศาสตร์ สาขาเซลล์พันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์



กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน ตามที่ครุสภากำหนด ต้องมีทั้งสาระความรู้ และ สมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้
สาระความรู้ตามมาตรฐาน   มี 14 หัวข้อได้แก่                                                                    
1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ       8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา                       9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ                         10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร             11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร                      12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา 
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร                 13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน                   14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

สมรรถนะตามมาตรฐาน มี 5 หัวข้อคือ
1. มีภาวะผู้นำ                                    
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน     
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์ 
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ

สุนีย์  เหมะประสิทธิ์  (2533:18-19)ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้  ที่เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น  3  กลุ่มคือ

(1)กลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism)
       เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
 (2)กลุ่มเกสตัสท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม  (Gestelt,Field  or  Cognitive  theories)
       เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3)กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม  (Social  psychology  or  social  learning  theory)
       เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม



วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่  1       
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดเรียนบรรยากาศหรือการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และวิธีการสอนเพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน  
       นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน  ในการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอนต้องปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น  และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  และบรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการสอนที่มีคุณภาพ 


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวอาซูรา  ดือเระ
วัน/เดือน/ปีเกิด  18  มกราคม  2533  อายุ  20  ปี 
บ้านเลขที่  8/2  หมู่  5  บ้านไอจือเราะ  ต.มาโมง 
อ.สุคิริน  จ.นราธิวาส

ประวัติการศึษา

อนุบาล  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนนิคมพัฒนา  10
มัธยมตอนปลายจาก  โรงเรียนรอมาเนีย
ปัจจุบันศึกษา  ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ปรัชญา

จงทำตัวเช่นผืนทราย  ที่ไม่ว่าจะเจอเรื่องร้ายเช่นไร  มันก็จะเลือนหายไปเสมอ

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความจากใจ

ชีวิตในบางครั้ง
ความอยุติธรรมก็คล้ายเป็นเรื่องถูกต้อง
ความเจ็บปวดก็คล้ายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ความเสียเปรียบก็อาจถูกยัดเยียดให้
ความพ่ายแพ้ก็อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน
คนที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถทนรับเอาไว้ได้
เพื่อที่จะกอบกำทุกอย่างกลับคืนมา