การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือ กระทำ ปฏิบัติ แก้ปัญหา หรือ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ ตลอดจนเน้นกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม
บทบาทในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ครูมีบทบาทที่สำคัญมีดังนี้
1. การเตรียมการสอน ครูควรเตรียมการสอนดังนี้
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ความสามารถ และเพื่อกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ ตลอดจนวัตถุประสงค์สำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้ เตรียมห้องเรียน
1.4 วางแผนการสอน ควรเขียนให้ครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดเรื่อง
(2) กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
(3) กำหนดเนื้อหา ครูควรมีรายละเอียดพอที่จะเติมเต็มผู้เรียนได้ ตลอดจนมีความรู้ในเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ
(4) กำหนดกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของตนเอง ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจมีความหลากหลายตามความสามารถ ถึงแม้จะเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
(5) กำหนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
(6) กำหนดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือประเมิน
2. การสอน ครูควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
2.1 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2.2 กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม
2.3 จัดกิจกรรมหรือดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผน และต้องคอยสังเกต บันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสม
2.4 ให้การเสริมแรง หรือให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ข้อสังเกต
2.5 การประเมินผลการเรียน เป็นการเก็บรวบรวมผลงานและประเมินผลงานของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
สรุป คนจะเกิดปัญญาเกิดจากการฝึกกำลังใจให้แน่วแน่ มีสมาธิ ผลผลิต คือ ผู้เรียน ความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
วิธีจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
1. แรมจากศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าเขากำหนดว่าอย่างไร ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรแล้วนำความรู้นั้นมาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอน
2. วิเคราะห์ตัวผู้เรียนว่ามีลักษณะอย่างไร เราต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร มีทักษะพัฒนาด้านใดบ้าง โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. ในการจัดกิจกรรมเราจะนำเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน ใช้สื่อในการเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรม
4. โดยการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
5. นำผลประเมินการจัดกิจกรรมมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา นำส่วนที่ควรปรับปรุงไปแก้ไขในบทเรียนหน้า ส่วนที่ดีก็ดำแนนตามปกติ
6. การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต วัดผล ทดสอบต่างๆ เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไปใช้ในอนาคต
ตัวอย่างการแผนการเรียนการสอน
แผนการเรียนการสอน
วิชา วิวัฒนาการการปกครองของไทยก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี 1 ชั่วโมง
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 สัปดาห์
1.สาระการเรียนรู้
การปกครองของไทยในสมัยโบราณได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดลักษณะและบทบาทของการผู้ปกครองหรือกษัตริย์
การปกครองสมัยโบราณของไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีจตุสดมภ์เป็นหลักในการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็นเมืองลูกหลวง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช
การศึกษาวิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย สามารถแบ่งเป็นยุค ได้แก่ ยุคก่อนสมัยสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตน์โกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๔) สมัยรัชกาลที่ ๕-ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน แต่จะกล่าวถึงวิวัฒนาการการปกครองของไทยตั้งแต่ยุคก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี
2.จุดประสงค์รายวิชา
2.1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี
2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงวิวัฒนาการการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี อย่างเป็นลำดับ
2.3 เพื่อให้นักเรียนเกิดความตราหนักถึงความเป็นไปของประเทศจนได้กลายเป็นเอกราชจนถึงปัจจุบัน
3.แผนการเรียนการสอน
สัปดาห์ที่ /ชั่วโมง | สาระการเรียนรู้ | กิจกรรมการเรียนรู้ | การวัดผล |
1 1 ชั่วโมง | 1.การเมืองการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย 2.การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย - การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น - การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย | บรรยาย อธิบาย อภิปรายกลุ่ม/การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ/ฝึกปฏิบัติทบทวนสรุปองค์ความรู้ | ทดสอบความเข้าใจ/ ตรวจผลงาน/ การสังเกตพฤติกรรม/ความรู้สึกด้วยตนเอง |
2 1 ชั่วโมง | 1.การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา - พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา - การจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยา 2.การเมืองการปกครองสมัยธนบุรี - การปกครองส่วนกลาง - การปกครองส่วนภูมิภาค - กฎหมายและคดีสำคัญสมัยกรุงธนบุรี | ศึกษาเอกสาร/วิเคราะห์/อภิปรายกลุ่ม/กิจกรรมตามใบงาน/สรุปองค์ความรู้ | ทดสอบ/ตรวจผลงาน/สังเกตพฤติกรรม/การสะท้อนผลการเรียนรู้ |
4.แผนการวัดผลและประเมินผลการเรียน
4.1 การวัดผลการเรียนรู้
งาน/กิจกรรมที่ใช้ในการประเมิน | สัปดาห์ที่ | สัดส่วนของคะแนน |
1.พฤติกรรมการเรียนรู้/เวลาเรียน | ตลอดภาคการเรียนรู้ | 20 |
2.การปฏิบัติงานเดี่ยว 2.1 สรุปองค์ความรู้ 2.2 แบบฝึกหัด 2.3 รายงาน | ตลอดภาคการเรียนรู้ 2 1,2 | 20 |
3.การปฏิบัติงานกลุ่ม 3.1 รายงาน | 1,2 | 20 |
4.การทดสอบปลายภาค | 16 | 40 |
4.2 การประเมินผล
เกรด A ได้คะแนนร้อยละ 80-100
เกรด B+ ได้คะแนนร้อยละ 75-79
เกรด B ได้คะแนนร้อยละ 70-74
เกรด C+ ได้คะแนนร้อยละ 65-69
เกรด C ได้คะแนนร้อยละ 60-64
เกรด D+ ได้คะแนนร้อยละ 55-59
เกรด D ได้คะแนนร้อยละ 51-54
เกรด E ได้คะแนนร้อยละ 50
5.สื่อการเรียนรู้
5.1 เอกสารประกอบการสอนและตำรา
5.2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
5.3 Power point
5.4 ใบงาน ใบกิจกรรม
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1. ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำแผ่นพับเกี่ยวกับการเมืองการปกครองก่อนสมัยสุโขทัย-สมัยธนบุรี
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.ปัญหาอุปสรรค
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................................
ผู้สอน