ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
การบริหารจัดการในชั้นเรียน ตามที่ครุสภากำหนด ต้องมีทั้งสาระความรู้ และ สมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้
สาระความรู้ตามมาตรฐาน มี 14 หัวข้อได้แก่
1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ 8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา 9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ 10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร 11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร 12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร 13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน 14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะตามมาตรฐาน มี 5 หัวข้อคือ
1. มีภาวะผู้นำ
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2533:18-19)ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่มคือ
(1)กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
(2)กลุ่มเกสตัสท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestelt,Field or Cognitive theories)
(2)กลุ่มเกสตัสท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestelt,Field or Cognitive theories)
เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3)กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or social learning theory)
(3)กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or social learning theory)
เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น